หน้าแรก

วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2558

แนะนำตัว

รหัสวิชา  :  GEN 1102
ชื่อวิชา    :  เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
Section   :  AD
รหัส นศ. :  571758009
ชื่อ นศ.   :  กัญญารัตน์  ศรีนวล

เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) 
คําว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนําเอาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่มีการคิดค้นและพัฒนามาใช้ให้เกิดประโยชน์ นอกจากนี้ยังเป็นชื่อกลางๆ ที่นําไปใช้กับคําอื่นๆ เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีโทรคมนาคม และการสื่อสาร ซึ่งส่งผลให้มนุษย์สามารถส่งข้อมูลและความรู้ไปยังผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกลกันได้อย่างรวดเร็วและประหยัด และเมื่อนําเอาคําว่าเทคโนโลยีมารวมกับคําว่า สารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Information Technology ก็จะหมายถึง การนําเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเกี่ยวกับข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ในการนําไปใช้หรือพิจารณาประกอบการตัดสินใจในระดับองค์กรต่อไป ซึ่งจะมีคําที่เกี่ยวข้ออยู่ 2 คํา คือ 

1.ข้อมูล (Data) คือ กลุ่มอักขระที่ได้จากการบันทึกหรือจัดเก็บ มีความหมายในตัวเอง เป็นข้อมูลดิบ ก่อนที่จะนําไปประมวลผลหรือใช้ประโยชน์อื่นๆ

2.สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลออกมาแล้ว สามารถนําเอาไปใช้ประโยชน์และพิจารณาประกอบการตัดสินใจได้ 

        ระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศ (Information System : IS) หมายถึง ระบบที่ได้นําเอาเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และ เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมมาใช้ในการรวบรวม บันทึก และประมวลผลข้อมูล เพื่อใช้ในการวางแผนและประกอบการตัดสินใจภายในองค์กรเพื่อให้การดําเนินงานขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย ซึ่งระบบจะประกอบด้วยบุคลากร ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ระบบเครือข่าย และฐานข้อมูล

         ในระบบสารสนเทศจะประกอบด้วยกระบวนการอยู่ 3 อย่าง คือ Input (การนําข้อมูลเข้า) Processing (การประมวลผล) และ Output (การแสดงผล) ซึ่งทั้ง 3 กระบวนการนี้จะทําหน้าที่ในการเปลี่ยนข้อมูลดิบที่เข้ามาทางด้าน Input ใหเป็นสารสนเทศที่ออกมาทาง Output และจะย้อนกลับ (Feedback) ไปยัง Input เพื่อให้มีการประเมินผลการทํางาน 
          บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ 
   ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทําให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอํานวยความสะดวกสบายต่อ การดําชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดํารงชีวิตได้เป็นอย่างดีเทคโนโลยีทําให้การสร้างที่ พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทําให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจํานวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทําให้มี การติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทําให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา


        ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ 

     โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก ลักษณะเด่นที่สําคัญของเทคโนโลยี สารสนเทศมีดังนี้   
     - เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพ ในการทํางาน ในการประกอบการ ทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จําเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพ ในการทํางานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทําให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่อง เอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทําให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการ ทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดําเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทํางาน เช่น ใช้ ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
ภาพที่ 1.1 ฝากถอนเงินสดผ่านเครื่อง เอทีเอ็ม 
   - เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถ สอบถามข้อมุลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้

ภาพ 1.2 การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์

    - เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จําเป็น สําหรับการดําเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่าง พัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทําด้วยระบบ ระบบเวช ระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสําคัญที่จะนําเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้

ภาพที่ 1.3 การดําเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ

   - เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทําให้ชีวิตความ เป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคํานวณ และใช้ อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่างๆ เป็นต้น 
ภาพที่ 1.4 การใช้ตารางในการคำนาณ

        ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศ 
การกําเนิดของคอมพิวเตอร์เมื่อประมาณห้าสิบกว่าปีที่แล้ว เป็นก้าวสําคัญที่นําไปสู่ยุคสารสนเทศ ในช่วง แรกมีการนําเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องคํานวณ แต่ต่อมาได้มีความพยายามพัฒนาให้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ สําคัญสําหรับการจัดการข้อมูล เมื่อเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ได้ก้าวหน้ามากขึ้น ทําให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่มี ขนาดเล็กลง แต่ประสิทธิภาพสูงขึ้น สภาพการใช้งานจึงใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อ ชีวิตความเป็นอยู่และสังคมจึงมีมาก มีการเรียนรู้และใช้สารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยรวมกล่าวได้ดังนี้ 
   - การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสาร โทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอํานวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควบคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นต้น
   - เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส เทคโนโลยีสารสนเทศทําให้เกิดการกระจายไป ทั่วทุกหนแห่ง แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ทําให้มีการกระจายโอการการเรียนรู้ มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การ กระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล นอกจากนี้ในปัจจุบันมีความพยายามที่ใช้ระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่าย สื่อสาร
ภาพที่ 1.5 การศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยี
   - สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน การเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนําคอมพิวเตอร์และ เครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัด การศึกษา จัดตารางสอน คํานวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทํารายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการ แก้ปัญหาในโรงเรียน ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนมากขึ้น
ภาพที่ 1.6 การจัดตารรางเรียนของ น.ศ. มรชร.
   - เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจําเป็นต้องใช้สารสนเทศ เช่น การดูแลรักษาป่า จําเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์ อากาศ การจําลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพน้ําในแม่น้ําต่าง ๆ การ ตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย ที่เรียกว่าโทรมาตร เป็นต้น 
ภาพที่ 1.7 สภาพภูมิอากาศ

   - เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ กิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยี อาวุธ ยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบควบคุม มีการใช้ระบบป้องกันภัย ระบบเฝ้าระวังที่มี คอมพิวเตอร์ควบคุมการทํางาน        
    - การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม จําเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ได้มาก ราคาถูกลงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมาก มีการใช้ข้อมูล ข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ การดําเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้ สะดวกขึ้น 

เรื่องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

           เทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology) หมายถึง การนําความรู้ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจาวัน โดยผ่านกระบวนการประมวลผลเพื่อให้สามารถสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ มาใช้แก้ปัญหาหรือตอบสนองความต้องการของ            มนุษย์ได้เทคโนโลยีถูกนํามาใช้อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถทำงานได้ อย่างรวดเร็ว สมํ่าเสมอ แมนยำ และเชื่อถือได้เทคโนโลยสารสนเทศมีความสำคัญต่อการทำงานด้านต่าง ๆ ดังน ี้
1. ด้านการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้เกิดความสะดวกในการค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ เช่น การใช้อินเตอร์เน็ต และทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น การใช CD-ROM  เป็นต้น

2. ด้านการคมนาคม การสื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การคมนาคมและการสื่อสารเป็นไปด้วยความสะดวกสบายและ รวดเร็วมากยิ่งขึ้น เช่น การเดินทางด้วยรถไฟฟ้า การติดต่อสื่อสารโดยใช้โทรศัพท์ เป็นต้น

3. ด้านธุรกจพาณิชย์ เทคโนโลยสารสนเทศทำให้การดำเนินงานด้านธุรกิจพาณิชย์มีการแข่งขันสูงขึ้น และมีความสะดวกสบายมากขึ้น เช่น การติดต่อซื้อ-ขายทางอินเตอร์เน็ต การจ่ายเงินผ่านทางบัตรเครดิต โดยไม่ต้องพกเงินสดติดตัวครั้งละมากๆ เป็นต้น

4. ด้านการแพทย์ เทคโนโลยีสารสนเทศทําใหการแพทย์มีการเจริญก้าวหน้าในการตรวจวินิจฉัยโรค  และรักษาโรค เช่น การทำอัลตร้าซาวด์ เพื่อตรวจสอบเพศและความผิดปกติของทารกในครรภ์มารดา การผาตัด โดยใช้แสงเลเซอร ์เป็นต้น

5.ด้านวงการบันเทิง เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อวงการบันเทิงมากขึ้น เช่น การนําเพลงหรือ ภาพยนตร์มาจัดเก็บในรูปแบบของซีดี (CD) หรือ วีซีดี (VCD) เป็นต้น

   ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจําวนของคนเรามากขึ้นจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในการดําเนินชีวิตของคนเกือบทุกระดับ ซึ่งบทบาทและประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่

1. ทําให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมความสะดวกสบายยิ่งขึ้น จากสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
2. ทําให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคมและเกิดการกระจายโอกาส  เช่น การใช้ระบบการเรียน การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ทําใหเด็กทที่อยู่ ในชนบทหรือเด็กที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารมีโอกาสได้เรียนรู้เหมือนเด็กที่อยู่ในเมือง
 3. ทําให้เกิดสื่อการเรียนการสอนต่างๆมากขึ้น เช่น การใช้บทเรียน คอมพิวเตอร ์ช่วยสอน เป็นต้น
4. ทําให้เกิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น เช่น การรวบรวมข้อมูลเรื่องคุณภาพใน แม่นํ้าลำคลองต่างๆ เพื่อนำมาตรวจวัดมลภาวะแล้วดำเนินการแก้ไขปัญหาเป็นต้น
5. ทําให้เกิดระบบป้องกันประเทศที่มีประสิทธิ ภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การใช้คอมพิวเตอร์มาควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ หรอระบบป้องกันภัยต่าง ๆ เป็นต้น

เรื่องเทคโนโลยีสื่อประสม

ความหมายของสื่อประสม คําวา สื่อประสม มีผูใหความหมายไวดังตอไปนี้ (พัลลภ พิริยสุรวงศ, 2540) สื่อประสม คือระบบสื่อสารขอมูลขาวสารหลายชนิดโดยผานสื่อทางคอมพิวเตอรซึ่ง ประกอบดวยขอความ ฐานขอมูล ตัวเลข กราฟก ภาพ เสียง และวีดิทัศนหรือวีดิโอ (video) (Jeffcoate, 1995, 107) สื่อประสม คือการใชคอมพิวเตอรสื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เชน ขอความ กราฟก ภาพศิลป (graphic art) เสียง ภาพเคลื่อนไหว (animation) และวีดิทัศนเปนตน ถาผูใชสามารถควบคุมสื่อเหลานี้ใหแสดงออกมาตามตองการไดระบบนี้จะเรียกวา สื่อประสมเชิง โตตอบ (interactive multimedia) (Vaughan, 1998, 99) สื่อประสม คือ โปรแกรมประยุกตที่อาศัยคอมพิวเตอรเปนสื่อในการนําเสนอซึ่งเปน การนําเสนอขอความ สีสัน ภาพกราฟก ภาพเคลื่อนไหว เสียง และภาพยนตรวีดิทัศนสวนสื่อ ประสมเชิงโตตอบจะเปนโปรแกรมประยุกตที่ยอมรับการตอบสนองจากผูใชดวยแผงแปนอักขระ (keyboard) เมาส (mouse) หรือตัวชี้ (pointer) เปนตน

     สรุปความหมายของสื่อประสมไดวา สื่อประสมคือการใชคอมพิวเตอรรวมกับ โปรแกรมประยุกตในการสื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เชน ขอความ กราฟก ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดิทัศนเปนตน และถาผูใชสามารถควบคุมสื่อใหนําเสนอออกมาตาม ตองการไดจะเรียกวาสื่อประสมเชิงโตตอบ การโตตอบของผูใชสามารถจะกระทําไดโดยผานทาง แผงแปนอักขระ เมาส หรือตัวชี้เปนตน การใชสื่อประสมในลักษณะเชิงโตตอบก็เพื่อชวยใหผูใช สามารถเรียนรูหรือทํากิจกรรม รวมถึงดูสื่อตางๆ ดวยตัวเองได สื่อตางๆ ที่นํามารวมไวในสื่อ ประสม เชน ภาพ เสียง วีดิทัศน จะชวยใหเกิดความหลากหลายในการใชคอมพิวเตอรอันเปน เทคโนโลยีในแนวทางใหมที่ทําใหการใชคอมพิวเตอรนาสนใจ และเราความสนใจ เพิ่มความ สนุกสนานในการเรียนรูมากยิ่งขึ้น 


องคประกอบของสื่อประสม จากที่ไดกลาวแลววา สิ่งประดิษฐและผลงานตางๆ ทางดานสื่อประสม สามารถ จําแนกองคประกอบของสื่อตางๆ ไดเปน 5 ชนิด ซึ่งประกอบดวย ขอความหรือตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และภาพวีดิทัศนแลวนํามาผสมผสานเขาดวยกัน เพื่อใชสําหรับการโตตอบ ระหวางคอมพิวเตอรกับผูใชซึ่งถือไดวาเปนกิจกรรมที่ผูใชสามารถเลือกกระทําตอสื่อประสมได ตามความตองการ ตัวอยางเชน ผูใชไดทําการเลือกรายการและตอบคําถามผานทางจอภาพของ เครื่องคอมพิวเตอรจากนั้นระบบคอมพิวเตอรก็จะทําการประมวลผล แลวแสดงผลลัพธยอนกลับ ผานทางจอภาพใหผูใชเห็นอีกครั้ง เปนตน นอกจากนี้ยังมีการโตตอบในรูปแบบอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งนี้ขึ้นอยูกับเครื่องมือและ รูปแบบที่จะนํามาประยุกตใชงาน ตัวอยางเชน การสรางปุมหรือขอความที่มีสีแตกตางจาก ขอความปกติเมื่อผูใชมีการโตตอบกับสวนนี้ระบบก็จะเชื่อมโยงไปยังสวนอื่นๆ ที่เกี่ยวของซึ่งอาจ เปนไปไดทั้งขอความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงหรือวีดิทัศนตามที่ไดมีการออกแบบไวลวงหนาแลว ดังนั้นจึงถือไดวาการโตตอบในสื่อประสมเปนสวนหนึ่งที่มีความสําคัญไมนอยไปกวา สวนอื่นๆ ดังนั้นสื่อประสมที่สมบูรณควรจะตองประกอบดวยสื่อมากกวาสองสื่อตาม องคประกอบ คือตัวอักษร ภาพนิ่ง เสียง ภาพเคลื่อนไหวการเชื่อมโยงเชิงโตตอบและวีดิทัศนเปน ตน โดยที่องคประกอบเหลานี้มีความสําคัญแตกตางกันออกไป สําหรับรายละเอียดขององคประกอบของสื่อประสมตางๆ และเรื่องที่เกี่ยวของ มี ดังตอไปนี้ 

   -ขอความหรือตัวอักษร ขอความหรือตัวอักษรถือวาเปนองคประกอบพื้นฐานที่สําคัญของสื่อประสม ระบบสื่อ ประสม (multimedia system) ที่นําเสนอผานจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอรโดยมากจะมี ตัวอักษรใหเลือกไดหลายแบบ และสามารถที่จะเลือกสีของตัวอักษรไดตามตองการ นอกจากนั้น ยังสามารถกําหนดขนาดของตัวอักษรได การโตตอบกับผูใชก็ยังนิยมใชตัวอักษร รวมถึงการใช ตัวอักษรในการเชื่อมโยงเชิงโตตอบไดเชน การคลิกไปที่ตัวอักษรเพื่อเชื่อมโยงไปยังการนําเสนอใน รูปของเสียง ภาพกราฟกหรือเลนวีดิทัศน เปนตน นอกจากนี้ตัวอักษรยังสามารถนํามาจัดเปน ลักษณะของรายการเลือก (menu) เพื่อใหผูใชเลือกขอมูลที่จะศึกษาไดโดยคลิกไปที่บริเวณกรอบ สี่เหลี่ยมของสื่อประสมแบบการโตตอบ (ศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสและคอมพิวเตอรแหงชาติ, 2541)
   -ภาพนิ่ง ภาพนิ่งเปนภาพกราฟกที่ไมมีการเคลื่อนไหว เชน ภาพถาย หรือภาพวาด เปนตน ภาพนิ่งมีบทบาทสําคัญตอสื่อประสมมาก ทั้งนี้เนื่องจากภาพจะใหผลในเชิงของการเรียนรูดวยการ มองเห็น เชน การชมโทรทัศน อานหนังสือพิมพหรือวารสารตางๆ เปนตน จะมีภาพเปน องคประกอบเสมอ ดังคํากลาวที่วาภาพหนึ่งภาพมีคุณคาเทากับคําถึงพันคํา ดังนั้นภาพนิ่งจึงมี บทบาทมากในการออกแบบสื่อประสมที่มีตัวอักษรและภาพนิ่งเปนสวนประกอบ ซึ่งเปนลักษณะที่ เรียกวากุย (GUI ยอมาจากคําวา graphical user interface) หรือสวนตอประสานกราฟกกับผูใช ภาพนิ่งสามารถผลิตไดหลายวิธีตัวอยางเชน จากการวาด (drawing) การกราดภาพ (scanning) เปนตน
   -ภาพเคลื่อนไหว ภาพเคลื่อนไหว หมายถึง การเคลื่อนไหวของภาพกราฟก อาทิการเคลื่อนไหวของ ลูกสูบและลิ้นในระบบการทํางานของเครื่องยนต 4 จังหวะ เปนตน ซึ่งจะทําใหสามารถเขาใจระบบ การทํางานของเครื่องยนตไดเปนอยางดี ดังนั้นภาพเคลื่อนไหวจึงมีขอบขายตั้งแตการสรางภาพ ดวยกราฟกอยางงายพรอมทั้งการเคลื่อนไหวภาพกราฟกนั้น จนถึงกราฟกที่มีรายละเอียดแสดง การเคลื่อนไหว โปรแกรมที่ใชในการสรางภาพเคลื่อนไหวในวงการธุรกิจมีหลายโปรแกรม เชน โปรแกรมออโตเดสกอะนิเมเตอร (Autodesk Animator) หรือมาโครมีเดียแฟลช (Macromedia Flash) เปนตน ซึ่งโปรแกรมเหลานี้มีคุณสมบัติในดานของการออกแบบกราฟกสําหรับใชในสื่อ ประสมไดตามตองการ
   -เสียง เสียงในสื่อประสมจะจัดเก็บอยูในรูปของขอมูลดิจิทัล และสามารถเลนซ้ํา (replay) ได จากเครื่องคอมพิวเตอรสวนบุคคลหรือพีซี (PC ยอมาจากคําวา personal computer) การใชเสียง ในสื่อประสมก็เพื่อนําเสนอขอมูลหรือสรางสภาพแวดลอมใหนาสนใจยิ่งขึ้น เชน เสียงน้ําไหล เสียง หัวใจเตน เปนตน เสียงสามารถใชประกอบตัวอักษรหรือนําเสนอวัตถุที่ปรากฏบนจอภาพไดเปน อยางดีเสียงที่ใชรวมกับโปรแกรมประยุกตสามารถบันทึกเปนขอมูลแบบดิจิทัลไดจากหลายแหลง เชน ไมโครโฟน แผนซีดีเสียง แถบบันทึกเสียง และวิทยุเปนตน ภาพที่ 1.5 แสดงอุปกรณบาง ประเภทที่เกี่ยวของกับเสียง
   -วีดิทัศน การใชสื่อประสมในอนาคตจะเกี่ยวของกับการนําเอาภาพยนตรวีดิทัศน ซึ่งอยูในรูป ของดิจิทัลรวมเขากับโปรแกรมประยุกตที่เขียนขึ้น โดยทั่วไปวีดิทัศนจะนําเสนอดวยเวลาจริงที่ จํานวน 30 ภาพตอวินาที ในลักษณะนี้จะเรียกวาวีดิทัศนดิจิทัล (digital video) คุณภาพของ วีดิทัศนดิจิทัลจะทัดเทียมกับคุณภาพที่เห็นจากจอโทรทัศนดังนั้นทั้งวีดิทัศนดิจิทัลและเสียงจึงเปน สวนที่ผนวกเขาไปสูการนําเสนอไดทันทีดวยจอคอมพิวเตอร ในขณะที่เสียงสามารถเลนออกยังลําโพงภายนอกไดโดยผานแผนวงจรเสียง ภาพที่ 1.6 แสดงวีดิทัศนที่นําเสนอดวยโปรแกรม ควิกไทม (QuickTime)
   -การเชื่อมโยงเชิงโตตอบ การเชื่อมโยงเชิงโตตอบหมายถึงการที่ผูใชสื่อประสมสามารถเลือกขอมูลไดตาม ตองการโดยคลิกเมาสที่ตัวอักษรหรือปุมที่กําหนดใหเปนตัวนําทาง (navigation) การเชื่อมโยง สําหรับตัวอักษรที่จะสามารถเชื่อมโยงไดจะเปนตัวอักษรที่ออกแบบใหมีสีแตกตางจากอักษรตัว อื่นๆ สวนปุมก็จะมีลักษณะคลายกับปุมเพื่อชมภาพยนตรหรือคลิกลงบนปุมเพื่อเขาหาขอมูลที่ ตองการ หรือเปลี่ยนหนาตางไปยังขอมูลถัดไป
   -การรวมองคประกอบของสื่อประสม ตามที่ไดกลาวแลววา พื้นฐานของสื่อประสมจะตองมีองคประกอบมากกวาสอง องคประกอบเปนอยางนอยเชน ใชตัวอักษรรวมกับการใชสีที่แตกตางกัน 2-3 สีภาพศิลปภาพนิ่ง จากการวาดหรือการกราดภาพ นอกจากนั้นก็อาจมีเสียงและวีดิทัศนรวมอยูดวยการใชสื่อประสม ที่นิยมกันมีสองแบบ แบบแรกคือการใชสื่อประสมเพื่อการนําเสนอ ซึ่งนิยมใชโปรแกรมสําเร็จชุดนําเสนอ (presentation package) และแบบที่สองคือการใชสื่อประสมเพื่อการฝกอบรมหรือการ เรียนรูซึ่งนิยมใชโปรแกรมสําเร็จชุดประพันธ (authoring package) โปรแกรมสําเร็จชุดนําเสนอ เปนโปรแกรมที่พัฒนาจากแนวคิดของการใชเครื่องฉาย ภาพขามศีรษะมาเปนการนําเสนอโดยคอมพิวเตอรและเครื่องฉาย (projector) แทน ชุดนําเสนอที่ สามารถสรางขอความที่มีสีสัน ภาพกราฟกแผนภูมิแผนภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดิทัศน เหลานี้สามารถสรางจากโปรแกรมสําเร็จชุดนําเสนอ เชน โปรแกรมไมโครซอฟตเพาเวอรพอยต (Microsoft PowerPoint) หรืออะซิมเมตรีคอมเพล (Asymmetry’s Compel) เปนตน โปรแกรมสําเร็จชุดประพันธเปนชุดที่ใชเพื่อพัฒนาโปรแกรมดานสื่อประสม มีฟงกชั่น (function) ตางๆ ใหผูใชสามารถออกแบบโปรแกรมการสอนในหองเรียนไดตามความตองการ ทั้ง การใชขอความ ภาพ กราฟก เสียง และวีดิทัศน ในการฝกอบรมหรือการฝกทบทวน โปรแกรม สําเร็จชุดประพันธที่ใชกันมีหลายโปรแกรม เชน โปรแกรมมัลติมีเดียทูลบุก (Multimedia Toolbook) มาโครมีเดียออเธอรแวร (Macromedia Authorware) เปนตน ซึ่งนอกจากจะเขียนเปน โปรแกรมฝกอบรมหรือการสอนแลวยังสามารถนําโปรแกรมสําเร็จชุดประพันธมาใชเขียนแบบ โปรแกรมสําเร็จชุดการนําเสนอไดอีกดวย


องคประกอบของเทคโนโลยีสื่อประสม เทคโนโลยีสื่อประสมโดยหลักๆแลวจะมีองคประกอบ ดังนี้ 

1. เครื่องคอมพิวเตอร เปนเครื่องมือที่ทําใหเราไดเห็น ไดยิน สามารถโตตอบแบบ ปฏิสัมพันธได 
2. การเชื่อมโยงสื่อสาร ทําใหขอมูลตางๆเชื่อมโยงถึงกันและนําเสนอได 
3. ซอฟตแวรสามารถชวยใหเราใชขอมูลจากสื่อหลายชนิดรวมกันได 
4. การใชงานแบบสื่อประสม โดยใชขอมูลขาวสารในรูปแบบสื่อประสมที่ผูใชสรางขึ้น สําหรับเครื่องคอมพิวเตอรนั้น ถาเปนคอมพิวเตอรสวนบุคคลหรือสถานีงาน (workstation) จะตองมีศักยภาพในดานของเสียงและวีดิทัศน เชน จอภาพตองสามารถแสดง ขอความ กราฟก ภาพเคลื่อนไหว และวีดิทัศนรวมถึงภาพที่มีความละเอียดสูงไดลําโพงเสียงที่มี ศักยภาพในการเปลงเสียงพูด และเสียงดนตรีไมโครโฟนชนิดพลวัต (dynamic) หรือคอนเดนเซอร (condenser) และซีดีรอม (CD-ROM ยอมาจากคําวา compact disk read only memory) หรือ จานแสง (optical disk) ชนิดอื่นๆ เปนตน สวนวิธีการตางๆ ในการโตตอบกับระบบอาจมีหลายวิธี เชน วิธีการโตตอบโดยใชแผงแปนอักขระ เมาสกานควบคุม (joystick) หรือจอสัมผัส (touch screen) เปนตน

   สื่อประสมในอนาคต เปนที่คาดกันวา ในอนาคตสื่อประสมจะเปนนวัตกรรมหนึ่งที่มีการเติบโตทั้งดาน ซอฟตแวร (software) และฮารดแวร (hardware) ราคาของสื่อประสมจะถูกลงอยางมากในขณะที่ ประสิทธิภาพในดานภาพ เสียง และวีดิทัศนจะพัฒนาขึ้นจนมีคุณภาพสูง การเพิ่มศักยภาพของ คอมพิวเตอรดานสื่อประสมจะกระทําไดงาย สวนในดานซอฟตแวรจะสามารถใชไดงายขึ้น และมี การพัฒนาโปรแกรมประยุกตทางดานตางๆ มากมายและผูใชสามารถใชไดอยางงายดาย รวมถึง การนําสื่อประสมเขาไปประยุกตใชในวงการตางๆ อยางแพรหลาย

เรื่องการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Commerce) หรือ (E - Commerce)

ความหมายของอิเล็กทรอนิกส์

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทุกรูปแบบโดยครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า/บริการ การชำระเงิน การโฆษณาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต

    กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การดำเนินธุรกิจทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่าน และระบบสื่อสารโทรคมนาคมหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์

    องค์กรการค้าโลก ให้คำจำกัดความไว้ว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์

E-Commerce คืออะไร

    Electronic Commerce หรือ E-Commerce คือ การซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยส่งข้อมูลด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเครือข่าย เช่น Internet ถ้าผู้ใช้มีเครื่องคอมพิวเตอร์ คู่สายโทรศัพท์ โมเด็ม และเป็นสมาชิกของบริการ Internet ก็สามารถทำการค้าผ่านระบบเครือข่ายได้

    E-Commerce เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี Internet กับการจำหน่ายสินค้าและบริการ โดยสามารถนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้าหรือบริการผ่านทาง Internet สู่คนทั่วโลกภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ทำให้การดำเนินการซื้อขายอย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดรายได้ในระยะเวลาอันสั้น

ความสำคัญของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 
เนื่องมาจากอัตราการเติบโตของการใช้อินเตอร์เน็ตและการเพิ่มขึ้นของเว็บไซต์ทางธุรกิจที่มีอย่างต่อเนื่อง ทำให้การประกอบธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางการตลาดขนาดใหญ่ของโลกไร้พรมแดนที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายได้โดยตรงอย่างรวดเร็ว ไร้ขีดจำกัดของเรื่องเวลาและสถานที่ การแข่งขันทางการค้าเสรีและระหว่างประเทศที่ต้องแข่งขันและชิงความได้เปรียบกันที่ “ความเร็ว”

ทั้งการนำเสนอสินค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีความสำคัญอย่างยิ่งในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน และได้รับความนิยมเพิ่มขันเป็นลำดับ

กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 
กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
  • แอพพลิเคชั่นของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  • ปัจจัยทางการบริหาร
  • โครงสร้างพื้นฐาน
  • ประเภทสินค้าของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
สำหรับสินค้าที่ซื้อขายในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำแนกได้ดังนี้
  • สินค้าที่มีลักษณะเป็นข้อมูลดิจิทัล (Digital Products)
  • สินค้าที่ไม่ใช่ข้อมูลดิจิทัล (Non-Digital Products)
ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) 
ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นช่องทางการค้าที่น่าสนใจมาก เพราะนับวันก็ยิ่งมีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆซึ่งส่งผลให้การค้าทางอินเตอร์เน็ตขยายตัวได้อย่าง รวดเร็วและการทำธุรกิจบนเว็บไซต์นั้นสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้มากมายหลายประการ ได้แก่
  1. ทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่งโมง และขายสินค้าได้ทั่วโลก นักท่องอินเตอร์เน็ตจากทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้ามาในเว็บไซต์ของบริษัทได้ตลอดเวลาผู้ขายสามารถนำเสนอสินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆได้อย่างรวดเร็ว โดยคำสั่งซื้ออาจเกิดขึ้นตลอด 24 ชั่วโมงและมาจากที่ต่างๆกัน
     
  2. ข้อมูลทันสมัยอยู่เสมอ และประหยัดค่าใช้จ่าย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นั้นมีประโยชน์ที่สำคัญมากอีกประการหนึ่ง คือสามารถ เสนอข้อมูลที่ใหม่ล่าสุดให้กับลูกค้าได้ทันทีซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์เอกสาร และประหยัดเวลาในการประชาสัมพันธ์
     
  3. ทำงานแทนพนักงานขาย และเพิ่มประสิทธิภาพการขาย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถทำงานแทนพนักงานขายของคุณได้ โดยสามารถทำการค้าในรูปแบบอัตโนมัติ และดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการทางธุรกิจภายในองค์กรนั้นๆ
     
  4. แทนหน้าร้าน หรือบูทแสดงสินค้า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงสินค้าที่มีอยู่ให้กับลูกค้าทั่วโลกได้มองเห็นสินค้าของคุณ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายตกแต่งหน้าร้าน หรือในการเดินทางออกไปในบูทแสดงสินค้าในที่ต่างๆ
     
  5. เทคโนโลยีช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ๆมาช่วยในการทำให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น การแสดงสินค้าโดยผู้ชมสามารถดูสินค้าได้ 180 องศา หรือลูกค้าสามารถอ่านหัวข้อของหนังสือที่ต้องการซื้อก่อนได้
     
  6. ง่ายต่อการชำระเงิน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถชำระเงินได้อย่างสะดวกสบายโดยวิธีการตัดผ่านบัตรเครดิตหรือการโอนเงินเข้าบัญชีซึ่งจะเป็นระบบอัตโนมัติ
     
  7. เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ในโลกพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บริษัทขนาดเล็กสามารถมีโอกาสทางธุรกิจเทียบได้กับบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายๆอย่าง เป็นต้นว่า ชื่อ URL ของบริษัทควรจะจำง่าย การออกแบบเว็บไซต์ให้สวยงามและปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ การสั่งซื้อและการชำระเงินมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี เป็นต้น
     
  8. สร้างความประทับใจและพึงพอใจได้มากกว่า ปัจจุบันการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตทำได้อย่างง่ายดาย สินค้าและบริการมีให้เลือกมากมายทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง และเสียเวลาไปกับการค้นหาสินค้าและบริการที่ต้องการ ลูกค้าสามารถค้นหาสินค้าที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วที่สุด เช่น ถ้าลูกค้าต้องการซื้อของตกแต่งบ้านจากเว็บไซต์ Bangpa-in.com ลูกค้าสามารถจะค้นหาสินค้าจากประเภทของสินค้า หรือค้นหาตามรูปแบบที่ต้องการได้ ในกรณีที่ลูกค้าสั่งสินค้าและได้ให้รายละเอียดส่วนตัวไว้ ร้านค้าสามารถ บันทึก รายละเอียดของลูกค้าไว้ในฐานข้อมูลของเราเพื่อความสะดวกของลูกค้าในการสั่งซื้อสินค้าครั้งต่อไป (Member System)
     
  9. รู้และแก้ปัญหาต่างๆได้ทันท่วงที พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถให้บริการหลังการขายได้เช่นกัน โดยใช้ประโยชน์จากอีเมล์ในการติดต่อลูกค้า การสร้างแบบสอบถามลูกค้าเพื่อสอบถามความพึงพอใจต่อสินค้าและบริการทำให้ร้านค้าสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นและทันท่วงที
กระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ 
มีขั้นตอนที่สำคัญ 5 ขั้นตอน ดังนี้

1. การค้นหาข้อมูล
ขั้นตอนแรกของการซื้อสินค้าเป็นการค้นหาข้อมูลสินค้าที่ต้องการ แล้วนำข้อมูลแต่ละร้านมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกัน โดยใช้เว็บไซต์ที่นิยม หรือ Search Engines เช่น http://www.google.com เป็นต้น

2. การสั่งซื้อสินค้า
เมื่อลูกค้าเลือกสินค้าที่ต้องการแล้ว จะนำรายการที่ต้องการเข้าสู่ระบบตะกร้า และจะมีการคำนวณ ค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยลูกค้าสมารถปรับเปลี่ยนรายการและปริมาณที่สั่งได้

3. การชำระเงิน
เมื่อลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าที่ต้องการ ในขั้นถัดมาจะเป็นการกำหนดวิธีการชำระเงิน ขึ้นอยู่กับความสะดวกของลูกค้าว่าจะเลือกวิธีไหน

4. การส่งมอบสินค้า
เมื่อลูกค้ากำหนดวิธีการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว จะเข้าสู่วิธีเลือกส่งสินค้า ซึ่งการส่งมอบสินค้าอาจจัดส่งให้ลูกค้าโดยตรง การใช้บริการบริษัทขนส่งสินค้า หรือส่งผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การดาวน์โหลดเพลง เป็นต้น

5. กาให้บริการหลังการขาย
หลังจากเสร็จสิ้นการสั่งสินซื้อแต่ละครั้ง ร้านค้าต้องมีบริการหลังการขายให้กับลูกค้า ซึ่งอาจจะเป็นติดต่อกับลูกค้าผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น อีเมล์ และเว็บบอร์ด

ข้อดีของการใช้ E - Commerce
  1. การซื้อขายสินค้าแบบ Online สามารถตัดปัญหายุ่งยากในเรื่องของการต่อรองราคาและตัดปัญหาเกี่ยวกับนายหน้า เพราะมีเพียงแค่รหัสบัตรเครดิตที่เปิดบัญชีกับธนาคาร ท่านก็สามารถซื้อสินค้าผ่าน Internet ได้
     
  2. ข้อมูลของลูกค้าจะถูกเก็บไว้ใน E-Mail บุคคลอื่นไม่สามารถเปิดอ่านได้นอกจากผู้จัดจำหน่ายเท่านั้น
     
  3. เพิ่มมูลค่าและปริมาณทางการค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจ ลดต้นทุน และเปิดโอกาสให้ผู้ขายขนาดกลางและขนาดเล็ก มีโอกาสเข้าสู่ตลาดได้มากขึ้น ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็มีทางเลือกมากขึ้นด้วย
  4. ผู้ซื้อสามารถค้นหาข้อมูลหรือข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการต่างๆทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงร้านค้า หรือผ่านพ่อค้าคนกลาง
     
  5. ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการกับผู้ซื้อรายอื่น หรือมีโอกาสสัมผัสกับสินค้าหรือบริการก่อนการตัดสินใจซื้อ เช่น ฟังตัวอย่างเพลง อ่านเรื่องย่อของหนังสือ หรือชมบางส่วนของ VDO ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ทำให้ผู้ซื้อมีข้อมูลในการตัดสินใจเพิ่มมากขึ้น ในกรณีที่เป็นการสั่งซื้อแบบ Digital Form จะสามารถส่งข้อมูลผ่าน Internet ได้ทันที
     
  6. ผู้ขายสามารถโฆษณาขายสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้าทั่วโลกได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการโฆษณา การจัดตั้งร้านค้า การจัดตกแต่งสถานที่ ค่าใช้จ่ายการจัดเก็บสินค้า การกระจายสินค้า และยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่นๆได้อีกด้วย
ข้อจำกัดในการใช้ E-Commerce
  1. ความไม่ปลอดภัยของข้อมูล ขาดการตรวจสอบการใช้บัตรเครดิตบน Internet ข้อมูลบนบัตรเครดิตอาจถูกดักฟังหรืออ่าน เพื่อเอาชื่อและหมายเลขบัตรเครดิตไปใช้โดยที่เจ้าของบัตรเครดิตไม่รู้ได้ การส่งข้อมูลจึงต้องมรการพัฒนาวิธีการเข้ารหัสที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน เพื่อให้ข้อมูลของลูกค้าได้รับความปลอดภัยสูงสุด
     
  2. ประเทศไทยยังไม่มีธนาคารพาณิชย์ที่จะทำหน้าที่รับประกันความเสี่ยง สำหรับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันการชำระเงินยังต้องผ่านธนาคารที่เป็นของต่างประเทศ
     
  3. ปัญหาความยากจน ความด้อยโอกาสและขาดความรู้ทางเทคโนโลยี รวมทั้งขาดเครือข่ายการสื่อสาร เช่น ระบบเคเบิล ระบบโทรศัพท์ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง จึงทำให้ชนบทที่ห่างไกลไม่สามารถเข้าถึงและใช้บริการ Internet ได้
     
  4. E-Commerce ยังมีประเด็นเชิงนโยบายที่ทำให้รัฐบาลต้องเข้ามากำหนดมาตรการ เพื่อให้ความคุ้มครองกับผู้ซื้อและผู้ขาย ขณะเดียวกันมาตรการมนเรื่องระเบียบที่จะกำหนดขึ้นต้องไม่ขัดขวางการพัฒนาเทคโนโลยี
     
  5. ผู้ซื้อไม่มั่นใจเรื่องการเก็บรักษาความลับทางธุรกิจ ข้อมูลส่วนบุคคลเช่น ไม่มั่นใจว่าจะมีผู้นำหมายเลขบัตรเครดิตไปใช้ประโยชน์ในทางที่มิชอบหรือไม่
     
  6. ผู้ขายไม่มั่นใจว่าลูกค้ามีตัวตนอยู่จริง จะเป็นบุคคลเดี่ยวกับที่แจ้งสั่งซื้อสินค้าหรือไม่ มีความสามารถในการที่จะจ่ายสินค้าและบริการหรือไม่ และไม่มั่นใจว่าการทำสัญญาซื้อขายผ่านระบบ Internet จะมีผลถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
     
  7. ด้านรัฐบาล ในกรณีที่ผู้ซื้อและผู้ขายอยู่คนละประเทศกันจะใช้กฎหมายของประเทศใดเป็นหลัก หากมีการกระทำผิดกฎหมายในการการกระทำการซื้อขายลักษณะนี้ ความยากลำบากในการติดตามการซื้อขายทาง Internet อาจทำให้รัฐบาลประสบปัญหาในการเรียกเก็บภาษีเงินได้และภาษีศุลกากร การที่ E-Commerce ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ พฤติกรรมของผู้บริโภค และการปฏิบัติงานของภาครัฐบาล ทำให้รัฐบาลอาจเข้ามากำหนดมาตรการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและผู้ขายที่ใช้บริการ E-Commerce รวมทั้งให้ความสนใจในการพัฒนาบุคลากร การพัฒนาปัจจัยที่จะเพิ่มความสะดวกทางด้านโทรคมนาคมสื่อสาร
     
  8. ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถทำสำเนาหรือดัดแปลงหรือสร้างขึ้นใหม่ได้ง่ายกว่าเอกสารที่เป็นกระดาษ จึงต้องจัดการระบบการรักษาความปลอดภัยในการอ้างสิทธิให้ดีพอ
     
  9. E-Commerce ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับการจัดการทางธุรกิจที่ดีด้วย การนำระบบนี้มาใช้จึงไม่สมควรทำตามกระแสนิยม เพราะถ้าลงทุนไปแล้วไม่สามารถให้บริการที่ดีกับลูกค้าได้ ย่อมเกิดผลเสียต่อบริษัท
     
  10. ปัญหาที่เกิดกับงานด้านกฎหมายและลายเซ็น ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะที่จะกำกับดูแลการทำนิติกรรม การทำการซื้อขายผ่านทางการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กฎหมายอีคอมเมิร์ซ 
ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศทำให้การพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การเสนอขายสินค้าการตกลงทำสัญญาซื้อขายสินค้า และการชำระเงินสามารถทำได้อย่างง่ายดายทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ในเมืองไทยก็มีปัจจัยสำคัญหลายอย่างเป็นอุปสรรคในการทำ Ecommerce โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของกฎหมายพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ เราจะมาศึกษาถึงเนื้อหาของกฎหมายพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ว่ามีความสำคัญอย่างไร

ในหลายประเทศทั่วโลกได้มีการตื่นตัวต่อการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของกฎหมาย ดังกล่าวในการพัฒนาประเทศ จึงได้จัดทำและมีกฎหมายดังกล่าวใช้บังคับเพื่อให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงต่อไป อย่างไรก็ดีหากพิจารณาถึงสภาพของสังคมไทยในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีปัญหาโดยพื้นฐานดังต่อไปนี้
  1. ปัญหาในทางการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากไม่มีโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายที่จะเอื้ออำนวยให้การทำธุรกรรมทางการค้า สามารถดำเนินไปอย่างสะดวกรวดเร็ว
     
  2. ปัญหาในการสร้างแรงจูงใจ การที่ประเทศมีกฎหมายที่ได้มาตรฐานในการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น

    - กฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange Law)
    - กฎหมายลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature Law)
    - กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law) เป็นต้น
    ย่อมจะสามารถสร้างแรงจูงใจให้นักลงทุนชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี
     
  3. ปัญหาในการสร้างความเชื่อมั่น กฎหมายคุ้มครองข้อมูลข่าวสาร (Data Protection Law) และกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Related Crime) เป็นต้นย่อมที่จะช่วยให้นักลงทุนชาวต่างชาติมั่นใจในการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน รวมทั้งข้อมูลข่าวสารที่มีค่ายิ่งในสังคมสารสนเทศจะได้รับการคุ้มครอง
     
  4. ปัญหาในการพัฒนาเทคโนโลยีและการถ่ายทอดเทคโนโลยี มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศจะต้องมีกลไกทางกฎหมายที่จะเอื้ออำนวยและสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีของชาติ รวมทั้งการส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างชาติ
     
  5. ปัญหาการเอื้อให้เกิดการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม (Fair Competition) การเปิดให้มีการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรมโดยเฉพาะในกิจการโทรคมนาคมจะส่งผลให้ มีการดึงดูดการลงทุน การเพิ่มการจ้างงานและนำเงินตราเข้าประเทศ หากทำอย่างมีระบบและหลักการ
     
  6. ปัญหาในการสร้างศักยภาพในการแข่งขัน (Competitiveness) ท่ามกลางการ แข่งขันทางการค้าอย่างรุนแรงในปัจจุบัน รัฐจำเป็นที่จะต้องสร้างกลไกทาง กฎหมายที่ส่งเสริมให้ภาคเอกชนไทยมีศักยภาพในเชิงการแข่งขัน
     
  7. ปัญหาในเรื่องช่องว่างระหว่างผู้มีและผู้ไร้ข่าวสาร ในยุคที่เทคโนโลยีมีความก้าว หน้าอย่างรวดเร็วรัฐมีความจำเป็นที่จะต้องจัดหากลไกทางกฎหมายเพื่อเอื้อให้มี การลดช่องว่างดังกล่าว จากสภาพการณ์ดังกล่าวกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศก็ได้ มีพัฒนาการอย่างสอดรับ กับความก้าวหน้าและความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเกิดขึ้นเนื่อง จากความจำเป็นของสังคม (Social Necessity) และเพื่อจรรโลงให้สังคมมีความเป็นปึกแผ่น (Solidarity) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ E-commerce
  1. กฎหมายธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
    กฎหมายนี้จะต้องสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ และเหมาะสมกับสภาพของประเทศไทย ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวรวมถึงกฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transaction Law) กฎหมาย ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature Law) กฎหมาย ธุรกรรมทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Financial Transaction Law) กฎหมายอาญาอันเนื่องมาจากอาชญากรรม พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce Criminal Code) 
  2. กฎหมายคุ้มครองข้อมูล
    เพื่อคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวจาก การนำข้อมูลของบุคคลไปใช้ในทางที่มิชอบ 
  3. กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Related Crime)
    อันมีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองสังคม จากความผิดที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร อันถือเป็นทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่าง (Intangible Object) แต่ทว่ามีค่ายิ่งในยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ 
  4. กฎหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI)
    ที่จะเอื้ออำนวยให้มีการ ทำนิติกรรมสัญญากันทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
     
  5. กฎหมายลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature Law)
    ที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างความมั่นคงให้กับคู่กรณีในอันที่จะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเพื่อการลงลายมือชื่อ 
  6. กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer)
    มีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองผู้บริโภคและสร้างหลักประกันที่มั่นคง ในการทำธุรกรรมทางการเงินดังกล่าว 
  7. กฎหมายโทรคมนาคม (Telecommunication Law)
    มุ่งวางกลไกในการเปิดเสรีให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรม และจัดให้องค์กรกำกับดูแลที่เป็นกลาง และมีประสิทธิภาพรวมทั้งสร้างหลักประกันให้ประชาชนสามารถเข้าถึง บริการโทรคมนาคมได้อย่างทั่วถึง (Universal Service) ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น กระทรวงคมนาคม มีการดำเนินการอยู่แล้วกฎหมายระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ และการค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ 
  8. กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับอินเตอร์เน็ต 
  9. กฎหมายพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์  
  10. กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ดำเนินมาตรการที่จะเร่งรัดให้มีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในระยะสั้น เช่น การกำกับดูแล ให้เกิด ความถูกต้องตามกฎหมายลิขสิทธิ์ และในระยะยาว เช่น การให้ การศึกษากับเยาวชนในคุณค่าของทรัพย์สิน ทางปัญญา เป็นต้น